หัวข้อ   “ ความคิดเห็นประชาชนต่อการปรับแก้รัฐธรรมนูญปี 2550
หากวันนี้เป็นวันลงประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ   ประชาชนร้อยละ 63.5 จะไม่สนับสนุน  
แต่ร้อยละ 45.4 สนับสนุนให้แก้มาตรา 68
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น
ประชาชน 22 จังหวัดทั่วประเทศ เรื่อง “ความคิดเห็นประชาชนต่อการปรับแก้รัฐธรรมนูญ
ปี 2550
” โดยเก็บข้อมูลกับผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 1,265 คน พบว่า
 
                 เมื่อถามประชาชนว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ฉบับปัจจุบันมีปัญหาหรือไม่
ประชาชนร้อยละ 45.4 คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบางมาตราอาจมีปัญหา
จึงอยากให้แก้เป็นรายมาตราไป
  รองลงมาร้อยละ 25.2 คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ไม่ได้มีปัญหาจึงไม่จำเป็นต้องแก้ และมีเพียงร้อยละ 9.3 เท่านั้นที่ระบุว่า รัฐธรรมนูญ
ฉบับปัจจุบันมีปัญหาและต้องแก้ทั้งฉบับ
 
                 สำหรับความคิดเห็นประชาชนที่มีต่อการปรับแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 68
วรรคสองให้มีความชัดเจนขึ้น จากเดิมที่ระบุว่า “...ผู้ที่ทราบการกระทำ (เพื่อการล้มล้าง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ย่อมมีสิทธิเสนอ
เรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว…
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 45.4 เห็นด้วยให้มีการปรับแก้ไขมาตราดังกล่าว  ในจำนวนนี้ ร้อยละ 27.8
เห็นว่าใจความสำคัญควรอยู่ในลักษณะ “ให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น
ก่อนที่อัยการสูงสุดจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
”  ขณะที่ร้อยละ 33.6 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยให้มีการปรับแก้
มาตราดังกล่าว
  และร้อยละ 21.0 ไม่ออกความคิดเห็น
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่าหากวันนี้เป็นวันลงประชามติเพื่อถามว่า “ท่านจะสนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ
ทั้งฉบับหรือไม่” พบว่า ประชาชนร้อยละ 63.5 ไม่สนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
  และมีเพียงร้อยละ 19.5
ที่สนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ  ในขณะที่ร้อยละ 17.0 ไม่แสดงความเห็น
 
                  ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่จะให้มาทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 49.8 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ  และร้อยละ
26.6 เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว  ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ไม่แสดงความเห็น
 
                 รายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. เมื่อถามความคิดเห็นประชาชนว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ฉบับปัจจุบัน มีปัญหาหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบางมาตราอาจมีปัญหา จึงอยากให้แก้เป็น
รายมาตราไป
45.4
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มีปัญหา จึงไม่จำเป็นต้องแก้ทั้งฉบับ
25.2
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาและต้องแก้ทั้งฉบับ
9.3
ไม่แสดงความเห็น
20.1
 
 
             2. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสองให้มีความชัดเจน และ
                 ใจความสำคัญควรอยู่ในลักษณะใด จากเดิมที่ระบุว่า “...ผู้ที่ทราบการกระทำ (เพื่อการล้มล้าง
                 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)  ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่อง
                 ให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการ
                 กระทำดังกล่าว…


 
ร้อยละ
เห็นด้วยให้มีการปรับแก้ไขมาตราดังกล่าว
โดย
    - เห็นด้วยให้มีการปรับแก้มาตราดังกล่าว โดยมีใจความ
      สำคัญคือ “ให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดทำการตรวจสอบ
      ข้อเท็จจริงเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ก่อนที่อัยการ
      สูงสุดจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต่อไป”
ร้อยละ 27.8
    - เห็นด้วยให้มีการปรับแก้มาตราดังกล่าว โดยมีใจความ
      สำคัญคือ “ให้ส่งเรื่องได้โดยผ่านอัยการสูงสุด หรือ
      ส่งเรื่องโดยตรงผ่านศาลรัฐธรรมนูญก็ได้”
ร้อยละ 10.0
    - เห็นด้วยให้มีการปรับแก้มาตราดังกล่าว โดยมีใจความ
      สำคัญคือ “ให้สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญได้
      โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด”
ร้อยละ 7.6
45.4
ไม่เห็นด้วยให้มีการปรับแก้มาตราดังกล่าว
33.6
ไม่แสดงความเห็น
21.0
 
 
             3. หากวันนี้เป็นวันลงประชามติเพื่อถามว่า “ท่านจะสนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่”
                 พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่สนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
63.5
สนับสนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
19.5
ไม่แสดงความเห็น
17.0
 
 
             4. ความคิดเห็นที่มีต่อแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่จะให้มาทำหน้าที่แทน
                 ศาลรัฐธรรมนูญ

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
49.8
เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
26.6
ไม่แสดงความเห็น
23.6
 
หมายเหตุ : ค่าร้อยละที่แสดงในทุกข้อข้างต้น เป็นค่าร้อยละที่ได้ถ่วงน้ำหนักตามข้อมูลสัดส่วนผู้มิสิทธิเลือกตั้งในแต่ละภาค
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการปรับแก้
รัฐธรรมนูญปี 2550 ในประเด็นต่างๆ ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของคนในสังคมในขณะนี้  ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของ
ประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 22 จังหวัดทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ด้วยวิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจังหวัดในแต่ละภาคจากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมาย
ที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,265 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.0 และเพศหญิงร้อยละ 50.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  17 - 20 กรกฎาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 กรกฎาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
632
50.0
             หญิง
633
50.0
รวม
1,265
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
260
20.5
             26 – 35 ปี
344
27.2
             36 – 45 ปี
316
25.0
             46 ปีขึ้นไป
345
27.3
รวม
1,265
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
743
58.7
             ปริญญาตรี
441
34.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
81
6.4
รวม
1,265
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
231
18.3
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
258
20.4
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
255
20.2
             รับจ้างทั่วไป
179
14.2
             เกษตรกร
109
8.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
83
6.6
             นักศึกษา
129
10.2
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
21
1.5
รวม
1,265
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776